ความหวังนอกถ้ำ กับ 5 รูปแบบการตอบสนองต่อเหตุการณ์ไม่คาดฝัน
จากข่าวน้องๆ #ทีมฟุตบอลหายไป ในถ้ำหลวงเชียงราย วันนี้พี่ชูใจอยากชวนคุย ว่าความหวังจะคงอยู่ในภาวะสิ้นหวังอย่างไร และขอเป็นกำลังใจให้ครอบครัว และทีมผู้ค้นหาน้องๆ ค่ะ แล้วถ้าเหตุการณ์ไม่คาดฝันเกิดขึ้นกับเรา เราจะมีวิธีรับมือกับมันยังไง ในบทความ “ความหวังนอกถ้ำ กับ 5 รูปแบบการตอบสนองต่อเหตุการณ์ไม่คาดฝัน”
1. ระยะปฏิเสธความจริง (Denial Stage)
ในระยะดังกล่าว คนเราจะไม่เชื่อสิ่งที่ตัวเองได้ยินกับหู หรือได้เห็นกับตา หรือแม้กระทั่งปฏิเสธความจริงจากแหล่งที่เชื่อถือได้ เพราะไม่อยากเจ็บปวดเสียใจกับความจริงนั้น เช่น เมื่อเห็นรองเท้าของเด็กก็อาจจะบอกว่าเด็กอาจจะแค่ถอดรองเท้าไว้แต่เด็กไม่ได้เข้าไป หรือ มั่นใจว่าเด็กๆ เคยเข้าไปในถ้ำมาแล้ว ครั้งนี้จะต้องไม่เป็นไร ประโยคที่เรามักจะได้ยินคุ้นหู ในผู้ที่ปฏิเสธความจริง ก็คือ “ไม่จริง” “เรื่องโกหก” “ข่าวไม่มีมูล”
.
2. ระยะโกรธ (Anger Stage)
เมื่อเริ่มรู้ตัวว่า ข่าวร้ายอาจจะเป็นจริง และเราเริ่ม “อิน” สิ่งที่คนเราอาจทำก็คือ โยนความผิด หรือ โทษสิ่งต่างๆ ไปทั่ว ซึ่งระยะนี้อันตรายมากเพราะอาจเกิดการกระทำความรุนแรงทั้งทางกาย หรือทางใจต่อคนที่ตกเป็นเหยื่อของการกล่าวโทษ เพื่อป้องกันจิตใจแตกสลายคนเราสามารถกล่าวโทษได้ทุกสิ่งเป็นการระบายความอัดอั้นตันใจออกไป เช่น โทษโค้ชว่าพาเด็กเข้าไปทำไม โทษร่างทรงว่าไม่ช่วยเอาอะไรต่อมิอะไรมาราน้ำ โทษนักข่าวทำไมเสนอข่าวงี้ โทษคนทวีตข้อความ โทษพ่อค้าแม่ค้าที่ไปขายของหน้าถ้ำ บางคนโทษไปได้ถึงพระเจ้า … (อ่านต่อในบทความ)
.
วันนี้ Featured พี่ชูใจขอพามาทำความเข้าใจ “หัวอกของคนรอ”กันดีกว่า การติดตามข่าวนั้นหากเราเข้าใจทฤษฏีจิตวิทยาที่ชื่อ The 5 Stages of Grief หรือ 5 รูปแบบการปรับตัวเมื่อต้องเผชิญเหตุการณ์ร้าย เราก็จะสามารถรับมือหรือเผชิญข่าวต่างๆ ได้อย่างมีสติ และไม่ตัดสินผู้อื่นอย่างผิดๆ ทฤษฏีนี้เกี่ยวอะไร แล้วทำให้เราเข้าใจเรื่องนี้ได้ยังไงนั้นมาเริ่มกันค่ะ!
.
– – – – – – – – – – – – – – – – – –
ชาวชูใจสามารถร่วมเป็นส่วนหนึ่งของการชูใจ ด้วยการถวายสนับสนุนเว็บไซด์ชูใจ Project ได้เช่นเดิม อ่านรายละเอียดได้ตรงนี้จ้า >>> https://www.choojaiproject.org/donate/
#ถ้ำหลวง #เด็ก13คน #ทีมกู้ภัย #ชูใจProject