วิธีขจัดความโกรธก่อนดวงอาทิตย์ตก [จิตวิทยาวัยรุ่น]
คนเราถูกสร้างมาให้มีอารมณ์ความรู้สึกที่ลึกซึ้งละ […]
[เอาไงดีชีวิต] ฉันมีต้นทุนอะไร?
“เราต้องดูก่อน ว่าเราอะ มีอะไร?”
ประโยคคุ้นหูในโฆษณารถยี่ห้อหนึ่งในโรงภาพยนตร์ที่เราได้ยินจนคุ้นหู
แต่มันมีความจริงอยู่ในนั้นนะ
ในการค้นหาตัวเองและเริ่มต้นลงมือทำอะไรสักอย่าง
การได้เริ่มต้นจากสิ่งที่เรามีก็จะทำให้เราได้เปรียบหรือไปได้เร็วกว่าคนอื่นที่ไม่มี นั่นจึงเรียกว่า “ต้นทุน”
แต่ประเด็นคือบางคนมองไม่ออกว่าเรามีต้นทุนอะไรบ้าง
เพราะอาจรู้สึกว่าตัวเองไม่ได้เกิดมาในครอบครัวที่ได้เปรียบทางสังคมหรือการเงิน
EP นี้ พี่หญิงกับพี่จิ๊กเลยจะมาชวนคุยว่า “ต้นทุน” มันคืออะไรที่ไม่ใช่แค่ฐานะทางเกินเงินได้อีกบ้าง?
เราจะมองให้เห็นต้นทุนที่ว่าได้อย่างไร?
และนำมาใช้ได้ยังไง?
ไปฟังจ้า!
ฟังชูใจ Podcast ในช่องทางอื่นๆ:
🔹 ฟังผ่าน Podbean : https://choojaiproject.podbean.com/
🔹 ฟังผ่าน Spotify : https://open.spotify.com/show/00LiVwkMt7RmZyfBpsxAOl
——————-
ผู้ดำเนินรายการ:
พี่หญิง ปวีณา: Counselor ประจำมูลนิธิจิตรักษ์ และ ผอ.ด้านการพัฒนาการให้คำปรึกษาไทย
พี่จิ๊ก สิริวรรณ: บก.ชูใจ Project
เรียงเรียง: จิ๊ก สิริวรรณ
ตัดต่อ: โจ้ นิธิวัฒน์
ภาพประกอบ: ลาเบย พรรณนิดา
——————-
ชาวชูใจสามารถร่วมเป็นส่วนหนึ่งของการชูใจ ด้วยการถวายสนับสนุนเว็บไซด์ชูใจ Project ได้เช่นเดิม อ่านรายละเอียดได้ตรงนี้จ้า >>> https://www.choojaiproject.org/donate/
[เอาไงดีชีวิต] ไม่รู้ว่าตัวเองชอบอะไรทำไงดี?
ผู้ดำเนินรายการ: พี่หญิง ปวีณา: Counselor ประจำม […]
Me Myself & God ตัวตนของฉันกับพระเจ้า
ผู้เขียน : ‘พี่เฟย’ ณิชา หลีหเจริญกุล (นักจิตบำบัด) สอง […]
การเลี้ยงดูส่งผลต่อคุณค่าของฉัน
#SelfEsteem #จิตพิสัย 😲
.
“ฉันคือใคร ฉันต้องการอะไร และฉันเป็นใคร” ถ้าได้นั่งทบทวนกับตัวเอง และถามคำถามเหล่านี้บ้าง ไม่ว่าจะถูกเลี้ยงดูมาแบบไหน เราก็จะยังสามารถค้นหาและเจอคุณค่าของตัวเองได้ เพราะทุกคนมีคุณค่า เพียงแต่อาจจะต้องการพื้นที่ทบทวนและมองเห็นมันชัดเจนมากขึ้น
.
ใน EP.1 เราได้พูดกันถึงเรื่อง “คุณค่าในตัวเอง (Self esteem)” ไปแล้ว คราวนี้เลยจะชวนมาคุยขยายความกันค่ะ ว่าคุณค่าในตัวเองที่พูดถึงนั้นมันมาได้ยังไง? มาตอนไหน? เริ่มตั้งแต่เด็กเลยรึเปล่า? แล้วมีอะไรที่ส่งผลกับมันบ้าง?
.
#ด้วยรักและชูใจ ❤
#ชูใจProject
———————-
#ช่วงขายของ ตอนนี้ชูใจออกปฎิทินแห่งความชูใจ 2019 ดีไซน์เรียบเก๋พร้อมข้อพระคัมภีร์ชูใจทุกเดือน สนใจพรีออเดอร์ได้ตั้งแต่วันนี้ – 3 ธค.นี้ https://goo.gl/wYe7u5
ทำความรู้จัก…ตัวฉัน
#SelfEsteem #จิตพิสัย 😲
.
“เมื่อพูดถึง Self ก็คือการพูดถึงตัวเอง”
.
วันนี้มีแบบฝึกหัดสั้นๆ เกี่ยวกับ Self-Esteem ที่พี่เฟยคัดลอกและแปลมาจากหนังสือ The Self – Esteem Workbook2 มาให้ลองทำค่ะ ติดตามอ่านเนื้อหาเต็มๆ ได้ในบททความนี้ และฝากซีรี่ส์นี้ไว้ในอ้อมใจด้วยนะคะ #ด้วยรักและห่วงใยสนับสนุนให้คริสเตียนไทยมีสุขภาพจิตที่ดี
.
#ด้วยรักและชูใจ ❤
#ชูใจProject
———————-
#ช่วงขายของ ตอนนี้ชูใจออกปฎิทินแห่งความชูใจ 2019 ดีไซน์เรียบเก๋พร้อมข้อพระคัมภีร์ชูใจทุกเดือน สนใจพรีออเดอร์ได้ตั้งแต่วันนี้ – 3 ธค.นี้ https://goo.gl/wYe7u5
เข้าใจคน Introvert กับ Extrovert ในโบสถ์
“ชูใจทีมได้ทำการสัมภาษณ์ น้อง 2 คนที่เป็นทั้งแบบ Introvert และ Extrovert ในประเด็นการเดินประกาศในมหาวิทยาลัยพบว่า น้อง Extrovert มีความสบายใจกว่าในการพบปะผู้คน และสามารถประกาศกับคนได้หลายคนภายในวันเดียว ขณะที่น้อง Introvert อาจต้องใช้พลังงานมากในการพูดคุยกับคนเพียงคนเดียวหรือเพียงสองคนก็ทำให้เหนื่อยมากแล้ว ทั้งนี้แม้เขาจะสบายใจกับการมาเรียนพระคัมภีร์กับพี่เลี้ยงมากกว่าการออกไปพบผู้คนเพื่อประกาศแต่เขาก็ยินดีที่จะออกไปพร้อมเพื่อนในฐานะคู่หู และอธิษฐานเผื่อในขณะที่เพื่อนกำลังประกาศกับผู้สนใจ ซึ่งแน่นอนว่าจะไม่รู้สึกเหนื่อยเท่าออกไปเผชิญหน้ากับคนแปลกหน้าเอง”
วัยรุ่นจะคุยกับพ่อแม่ยังไงให้เข้าใจ (วิธีการสื่อสารกับผู้ใหญ่ไม่ให้พังพินาศ)
“วัยรุ่นกับผู้ใหญ่อยู่กันคนละโลกจริงหรือ ?
แล้วเราจะสื่อสารกันยังไงให้พ่อแม่เข้าใจและเป็นสุข?”
.
ในฐานะเด็กการสื่อสารกับผู้ใหญ่มักไม่ใช่เรื่องง่ายเพราะวัยที่แตกต่างอาจทำให้คนเรามีมุมมองต่างกัน หลายครั้งการพูดคุยมักจบลงที่ความขัดแย้งไม่ลงรอยจนพลอยเสียความรู้สึก ถ้าการพูดคุยจบลงแบบนี้บ่อยๆ มันก็ทำให้เหนื่อยหน่ายและท้อที่จะคุย >>> #อย่าพึ่งท้อไปค่ะ
.
จากคำถามและปัญหาที่น้องๆ Inbox มาปรึกษาชูใจกันบ๊อยบ่อยว่าไม่รู้จะคุยกับพ่อแม่ยังไงให้เข้าใจ… คอมลัมน์ #จิตพิสัย วันนี้พี่ชูใจชวนพี่กานตี้นักจิตวิทยาเด็กและครอบครัวมาช่วยไขความลับของการพูดคุยกับพ่อแม่อย่างไรให้ Happy ไม่มีพังพินาศ เพราะว่า “ความสัมพันธ์ที่ดีเป็นจุดเริ่มต้นของทุกอย่าง!!!” มาค่ะมาอ่านเล้ยยยย ^^
.
#การสื่อสาร #คุยกับพ่อแม่ #ชูใจProject
ความหวังนอกถ้ำ กับ 5 รูปแบบการตอบสนองต่อเหตุการณ์ไม่คาดฝัน
จากข่าวน้องๆ #ทีมฟุตบอลหายไป ในถ้ำหลวงเชียงราย วันนี้พี่ชูใจอยากชวนคุย ว่าความหวังจะคงอยู่ในภาวะสิ้นหวังอย่างไร และขอเป็นกำลังใจให้ครอบครัว และทีมผู้ค้นหาน้องๆ ค่ะ แล้วถ้าเหตุการณ์ไม่คาดฝันเกิดขึ้นกับเรา เราจะมีวิธีรับมือกับมันยังไง ในบทความ “ความหวังนอกถ้ำ กับ 5 รูปแบบการตอบสนองต่อเหตุการณ์ไม่คาดฝัน”
1. ระยะปฏิเสธความจริง (Denial Stage)
ในระยะดังกล่าว คนเราจะไม่เชื่อสิ่งที่ตัวเองได้ยินกับหู หรือได้เห็นกับตา หรือแม้กระทั่งปฏิเสธความจริงจากแหล่งที่เชื่อถือได้ เพราะไม่อยากเจ็บปวดเสียใจกับความจริงนั้น เช่น เมื่อเห็นรองเท้าของเด็กก็อาจจะบอกว่าเด็กอาจจะแค่ถอดรองเท้าไว้แต่เด็กไม่ได้เข้าไป หรือ มั่นใจว่าเด็กๆ เคยเข้าไปในถ้ำมาแล้ว ครั้งนี้จะต้องไม่เป็นไร ประโยคที่เรามักจะได้ยินคุ้นหู ในผู้ที่ปฏิเสธความจริง ก็คือ “ไม่จริง” “เรื่องโกหก” “ข่าวไม่มีมูล”
.
2. ระยะโกรธ (Anger Stage)
เมื่อเริ่มรู้ตัวว่า ข่าวร้ายอาจจะเป็นจริง และเราเริ่ม “อิน” สิ่งที่คนเราอาจทำก็คือ โยนความผิด หรือ โทษสิ่งต่างๆ ไปทั่ว ซึ่งระยะนี้อันตรายมากเพราะอาจเกิดการกระทำความรุนแรงทั้งทางกาย หรือทางใจต่อคนที่ตกเป็นเหยื่อของการกล่าวโทษ เพื่อป้องกันจิตใจแตกสลายคนเราสามารถกล่าวโทษได้ทุกสิ่งเป็นการระบายความอัดอั้นตันใจออกไป เช่น โทษโค้ชว่าพาเด็กเข้าไปทำไม โทษร่างทรงว่าไม่ช่วยเอาอะไรต่อมิอะไรมาราน้ำ โทษนักข่าวทำไมเสนอข่าวงี้ โทษคนทวีตข้อความ โทษพ่อค้าแม่ค้าที่ไปขายของหน้าถ้ำ บางคนโทษไปได้ถึงพระเจ้า … (อ่านต่อในบทความ)
.
วันนี้ Featured พี่ชูใจขอพามาทำความเข้าใจ “หัวอกของคนรอ”กันดีกว่า การติดตามข่าวนั้นหากเราเข้าใจทฤษฏีจิตวิทยาที่ชื่อ The 5 Stages of Grief หรือ 5 รูปแบบการปรับตัวเมื่อต้องเผชิญเหตุการณ์ร้าย เราก็จะสามารถรับมือหรือเผชิญข่าวต่างๆ ได้อย่างมีสติ และไม่ตัดสินผู้อื่นอย่างผิดๆ ทฤษฏีนี้เกี่ยวอะไร แล้วทำให้เราเข้าใจเรื่องนี้ได้ยังไงนั้นมาเริ่มกันค่ะ!
.
– – – – – – – – – – – – – – – – – –
ชาวชูใจสามารถร่วมเป็นส่วนหนึ่งของการชูใจ ด้วยการถวายสนับสนุนเว็บไซด์ชูใจ Project ได้เช่นเดิม อ่านรายละเอียดได้ตรงนี้จ้า >>> https://www.choojaiproject.org/donate/
#ถ้ำหลวง #เด็ก13คน #ทีมกู้ภัย #ชูใจProject